อัพเดตวันที่ 01/11/2565

ความเป็นมาของโครงการ

ที่มาและความสำคัญ

กรมทางหลวงได้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองตามทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมมาตามลำดับ โดยกรมทางหลวงได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 และปรับปรุงล่าสุดในปี พ.ศ. 2559 ในการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579) ซึ่งแผนแม่บทฯ ดังกล่าวประกอบด้วยโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 21 เส้นทางครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จนถึงปัจจุบันกรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการตามแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมืองไปแล้วบางส่วน อาทิ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) และสายพัทยา-มาบตาพุด (M7) แต่ยังมีความล่าช้าจากแผนการที่กำหนดจำนวนมาก เนื่องจากการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแต่ละเส้นทาง จำเป็นต้องใช้วงเงินงบประมาณค่าก่อสร้างที่สูง

ด้วยแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองฉบับปัจจุบันได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในประเทศและภายนอกทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกมีบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพเศรษฐกิจ-สังคม การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบันอาจมีความคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงนโยบายแนวคิดการพัฒนา กล่าวคือ ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายเร่งด่วนในการบูรณาการการพัฒนาโครงการข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-Map) เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชน เพื่อให้การลงทุนมีความคุ้มค่า สามารถแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทั้งโครงข่ายทางหลวงและโครงข่ายทางรถไฟ โดยกรมทางหลวง ระหว่างดำเนินการ “งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง” ซึ่งมีการจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่าย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่เป็นปัจจุบัน และศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) สำหรับเส้นทางนำร่องที่มีศักยภาพ 3 โครงการ

ด้วยเหตุซึ่งกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เพื่อให้ผลการศึกษามีความเหมาะสมและถูกต้องแม่นยำต่อการวางแผนด้านนโยบาย จึงมีความจำเป็นในการศึกษาและวิเคราะห์ในรายละเอียดเพิ่มเติม ต่อยอดจาก “งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง” เพื่อให้กรมทางหลวงมีแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันและอนาคต โดยมุ่งเน้นถึงความจำเป็น ลำดับความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาและรองรับการพัฒนาที่เกิดขึ้นในอนาคต และสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง พร้อมทั้ง จัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ครบถ้วนทุกเส้นทางตามแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง เพื่อให้เกิดความชัดเจนของแนวเส้นทางรูปแบบการพัฒนา ต้นทุนและรายได้ รวมถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง

แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

การศึกษาปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง พร้อมการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

    • เพื่อศึกษาปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี ให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง และนโยบายปัจจุบัน โดยการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อยอดจาก“งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง”
    • เพื่อกาศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) สำหรับเส้นทางตามแผนแม่บทฯ ที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากช่วงเส้นทางนำร่องที่ได้ดำเนินการใน “งานศึกษาจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง”
    • เพื่อวิเคราะห์คาดการณ์วงเงินค่าลงทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตลอดจนกระแสรายได้ของเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง และศึกษาพิจารณาความเป็นไปได้ของแหล่งรายได้อื่น (Non-toll revenue) ที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้เพิ่มเติมของเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทางในอนาคต
    • เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง

ภาพแนวคิดเส้นทาง MR-MAP ตามนโยบาย

"วางแผนพร้อมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างพร้อมกัน"

ขึ้นอยู่กับแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน โดยเป็นการบูรณาการแผนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและรถไฟที่สมบูรณ์แบบทั้งโครงข่าย

Powered by WordPress Inspiro WordPress Theme by WPZOOM
waktogel togelup aye4d
bocoran rtp slot gacor maxwin sbobet togel kamboja