อัพเดตวันที่ 22/06/2566
MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี-หนองคาย
ช่วงที่ 4 แหลมฉบัง-ปราจีนบุรี (ระยะทาง 156 กม.)
ความสำคัญของเส้นทาง
เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังซึ่งเป็นประตูการค้าระหว่างประเทศหลักของประเทศไทย กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน โดยจีนได้พัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงจากจีนตอนใต้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์แล้วและมีแนวโน้มของปริมาณการเดินทางและขนส่งจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งไทยควรฉกฉวยโอกาสจากการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมระดับนานาชาติเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ การพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในเส้นทางนี้จะสนับสนุนการขนส่งทางราง การใช้ประโยชน์ท่าเรือแหลมฉบัง และการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แนวเส้นทางสามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่อุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี อาทิ นิคมอุตสาหกรรมเ กตเวย์ซิตี้ สวนอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียลปาร์ค 2 นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคกบินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี นิคมอุตสาหกรรมบ่อทอง 33 จังหวัดปราจีนบุรี สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี สวนอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียลปาร์ค สวนอุตสาหกรรมโรจนะ ปราจีนบุรีเขตประกอบการอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี
รูปแบบการพัฒนา
พัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับทางรถไฟสายใหม่ ปรับปรุงแนวเส้นทางจากการออกแบบโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ตอนชลบุรี (ท่าเรือแหลมฉบัง)-ปราจีนบุรี (ทล.359) ให้รองรับระบบรถไฟเพิ่มเติมจากที่ออกแบบไว้เฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เริ่มต้นโครงการที่ท่าเรือแหลมฉบัง ตำบลบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปสิ้นสุดโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 359 บริเวณอำเภอบ่อทอง จังหวัดปราจีนบุรี
รายละเอียดแนวเส้นทาง
จุดเริ่มต้นโครงการ : อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
จุดสิ้นสุดโครงการ : อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ระยะทางรวมประมาณ 156 กิโลเมตร
แนวเส้นทางพาดผ่าน 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี
แนวเส้นทางโครงการ
จุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางอยู่บริเวณพื้นที่ท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยแนวเส้นทางจะพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษควบคู่ไปกับรถไฟสายใหม่ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงหมายเลข 3 (ช่วงศรีราชา-พัทยา) และทางรถไฟความเร็วสูงกับทางรถไฟเดิม สายสัตหีบ-ฉะเชิงเทรา ที่จุดเดียวกัน คือ ตำบลบางละมุง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และต่อมาแนวเส้นทางจะตัดกับถนนทางหลวงหมายเลข 7 (ช่วงหนองข้างคอก-ตะเคียนเตี้ย) ตำบลบึง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จากนั้นมีการเชื่อมต่อกับทางหลวงหมายเลข 331 ทั้งหมด 3 จุดที่ตำบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีและมุ่งสู่ทิศเหนือตัดกับทางหลวงหมายเลข 344 (ช่วงหนองรี-หนองปรือ) ที่ตำบลหนองเสือช้าง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี จากนั้นมุ่งสู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับทางหลวงหมายเลข 331 จนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข 3340 (ช่วงหนองเสม็ด-บ่อทอง) ตำบลธาตุทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
แนวเส้นทาง MR2-4 กรุงเทพฯ/ชลบุรี-หนองคาย ช่วงแหลมฉบัง-ปราจีนบุรี