เป็นเส้นทางที่วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงชายแดนไทย-เมียนมา ที่ด่านพุน้ำร้อน
อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทางด้านตะวันตก กับ ชายแดนไทย-กัมพูชาที่ด่านอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ทางด้านตะวันออกของประเทศ ผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- เส้นทางทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร : เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 ด้านตะวันตก) ไปยังด่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี
- เส้นทางทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร : เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จากถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 ด้านตะวันออก) ไปยังด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
การเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางระหว่างสองฝั่งเพื่อผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้โครงข่ายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ความสำคัญของแนวเส้นทาง :
- เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับ ประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านตะวันออก ที่ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมโยงการค้าการคมนาคมขนส่งระหว่างไทยกับกัมพูชา
- เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับ ประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านตะวันตกที่มีศักยภาพในอนาคต ที่ด่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ในเมียนมา ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่
ระดับภูมิภาคที่มีแผนจะพัฒนาขึ้นในอนาคต - สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) แนวระเบียงย่อยกลาง (Central Sub-corridor) ของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS)
- สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษของไทย โดยเชื่อมโยงเมืองในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor : CWEC) และเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก กับ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนด้านตะวันตก (เขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี) และพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ภาพรวมแนวเส้นทาง :
- แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ : 9 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- ระยะทางรวม : ประมาณ 390 กิโลเมตร มีช่วงเส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในปัจจุบัน คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ระยะทาง 96 กิโลเมตร มีช่วงที่เป็นทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) 19 กิโลเมตร คือ ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก) และมีช่วงเส้นทางที่มีศักยภาพในการพัฒนาโดยใช้เขตทางร่วมกับระบบรางตามแนวนโยบายบูรณาการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) ระยะทางประมาณ 124 กิโลเมตร
- การเชื่อมโยงโครงข่าย : ตลอดแนวเส้นทาง MR6 มีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ประกอบด้วย ทางแยกกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน จากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) จุดตัดของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในแนว MR6 (M81) กับวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 (M91) ด้านตะวันตก จุดตัดของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในแนว MR6 (M81) กับวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 หรือถนนกาญจนาภิเษก (M9) ด้านตะวันตก จุดตัดของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในแนว MR6 (M71) กับวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 หรือ ถนนกาญจนาภิเษก (M9) ด้านตะวันออก จุดตัดของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในแนว MR6 (M71) กับวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 (M91) ด้านตะวันออก จุดตัดของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในแนว MR6 (M71) กับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในแนว MR2 (M61 : แหลมฉบัง-ปราจีนบุรี)
ที่พักริมทาง (Rest Area) :
- ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) จำนวน 2 แห่ง
- สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 5 แห่ง
- จุดพักรถ (Rest Stop) จำนวน 6 แห่ง
- ทางเข้าออกจำนวน 17 แห่ง
รายละเอียดของแนวเส้นทางช่วงต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 บางใหญ่-กาญจนบุรี (ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 2 กาญจนบุรี-พุน้ำร้อน (ระยะทางประมาณ 82 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 3 จตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก) (ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 4 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก)-ปราจีนบุรี (ระยะทางประมาณ 99 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 5 ปราจีนบุรี-สระแก้ว(อรัญประเทศ) (ระยะทางประมาณ 86 กิโลเมตร)

รูปแนวเส้นทาง MR6 กาญจนบุรี-สระแก้ว