เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ด่านคลองใหญ่ จังหวัดตราด เส้นทางเริ่มจากกรุงเทพมหานครที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ส่วน D และถนนพระราม 9 บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยที่จังหวัดชลบุรีแนวเส้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง โดยมีจุดปลายทางหนึ่งที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และอีกจุดปลายทางหนึ่งที่ด่านคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
ความสำคัญของแนวเส้นทาง :
- เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นที่ตั้งของฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ท่าเรือน้ำลึกที่เป็นประตูการค้าทางทะเลหลักของประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติ และเมืองการบินภาคตะวันออก ฯลฯ
- รองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ
- เชื่อมโยงชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ด่านคลองใหญ่ จังหวัดตราด และเขตเศรษฐกิจพิเศษตราด
- สอดคล้องกับแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) แนวระเบียงย่อยเลียบชายฝั่งด้านใต้ (Southern Coastal Sub-corridor) ของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS)
ภาพรวมแนวเส้นทาง :
- แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ : 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ระยะทางรวม : ประมาณ 452 กิโลเมตร ปัจจุบันมีเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง ระยะทาง 181 กิโลเมตร ส่วนเส้นทางที่เป็นแผนพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต ได้แก่ ช่วงชลบุรี-ตราด ซึ่งเป็นทางแยกจากเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้วบริเวณ
ที่พักริมทาง (Rest Area) :
- ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) จำนวน 3 แห่ง
- สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 3 แห่ง
- จุดพักรถ (Rest Stop) จำนวน 6 แห่ง
- ทางเข้าออกจำนวน 11 แห่ง
รายละเอียดของแนวเส้นทางช่วงต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-บ้านฉาง (ระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 2 ชลบุรี-ระยอง (ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 3 ระยอง-ตราด (ด่านคลองใหญ่) (ระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร)

รูปแนวเส้นทาง MR7 กรุงเทพฯ-ระยอง/ตราด