เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ 2 แห่ง ที่มีแผนจะพัฒนาขึ้นตามนโยบาย การพัฒนา Land Bridge ชุมพร-ระนอง ประกอบด้วย ท่าเรือทางฝั่งอาวไทย บริเวณจังหวัดชุมพร และท่าเรือทางฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัดระนอง
ความสำคัญของแนวเส้นทาง :
- เชื่อมโยงเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ได้แก่ ชุมพร และระนอง
- แนวเส้นทางรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย และ Land Bridge ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาให้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าใหม่ (New Trade Lane) เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าจากเดิมที่ต้องขนส่งผ่านทางช่องแคบมะละกา รวมทั้ง กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ SEC และ พื้นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับรายได้ของประเทศจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ระดับสูง
- รองรับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดระนองและภาคใต้
ฝั่งอันดามันตอนล่าง ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางและขนส่ง แบ่งเบาการจราจรจากทางหลวงหมายเลข 4
ที่พักริมทาง (Rest Area) :
- ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) จำนวน 1 แห่ง
- จุดพักรถ (Rest Stop) จำนวน 2 แห่ง
- ทางเข้าออกจำนวน 5 แห่ง
รายละเอียดของแนวเส้นทางช่วงต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้

รูปแนวเส้นทาง MR8 ชุมพร-ระนอง