เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันกับพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณตอนกลางของภาคใต้ โดยแยกออกจากแนวแกนหลักของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในภาคใต้ (เส้นทาง นครปฐม-นราธิวาส หรือ M8) บริเวณอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ความสำคัญของแนวเส้นทาง :
-
- เชื่อมโยงการท่องเที่ยวจากโครงข่ายหลักไปยังอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็น
จุดเชื่อมต่อการเดินทางสำหรับการท่องเที่ยวทางทะเลทางฝั่งอ่าวไทย และไปยังกลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวอันดามัน ได้แก่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก - เชื่อมโยง 2 เมืองหลักภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต
- เชื่อมโยงพื้นที่ท่องเที่ยวระดับโลก กับ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC)
- เชื่อมโยงการท่องเที่ยวจากโครงข่ายหลักไปยังอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็น
ภาพรวมแนวเส้นทาง :
- แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ : 4 จังหวัดได้แก่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต
- ระยะทางรวม : ประมาณ 236 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางเสนอให้พัฒนาโดยใช้เขตทางร่วมกับระบบรางตามแนวนโยบายบูรณาการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) ระยะทางประมาณ 126 กิโลเมตร
ที่พักริมทาง (Rest Area) :
- ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) จำนวน 1 แห่ง
- สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 4 แห่ง
- จุดพักรถ (Rest Stop) จำนวน 4 แห่ง
- ทางเข้าออกจำนวน 10 แห่ง
รายละเอียดของแนวเส้นทางช่วงต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 2 ช่วง ดังนี้

รูปแนวเส้นทาง MR9 สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต