slot pulsa dewaasia link server sensasional bandarjudiindo MR4 ช่วงที่ 5 ขอนแก่น-มุกดาหาร-นครพนม (ระยะทางประมาณ 334 กิโลเมตร) – MR-MAP

อัพเดตวันที่  05/05/2565

MR4 ตาก-นครพนม

ช่วงที่ 5 ขอนแก่น-นครพนม

ความสำคัญของเส้นทาง

เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) 2 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหารและเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนมกับด่านพรมแดนและเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (SEZ) 2 แห่ง และด่านการค้า/เส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ ด่านมุกดาหาร บริเวณสะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองไกสอน พมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต ของ สปป.ลาว เชื่อมต่อกับเส้นทาง R9 (ทางหลวงเอเชียสาย AH16) และเส้นทาง R13 (ทางหลวงเอเชียสาย AH11)  ในสปป.ลาว และ ด่านนครพนม ที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม–คำม่วน) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ของ สปป.ลาว เชื่อมต่อกับเส้นทาง R12 และเส้นทาง R13 ต่อด้วย R8 (ทางหลวงเอเชียสาย AH15) ใน สปป.ลาว

รูปแบบการพัฒนา

พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์โดยอาศัยเขตทางของโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งอยู่ระหว่างเวนคืนและเตรียมการก่อสร้างในปัจจุบัน

รายละเอียดแนวเส้นทาง

  • จุดเริ่มต้นโครงการ : อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณจุดตัดของแนวเส้นทาง MR2
  • จุดสิ้นสุดโครงการ : อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
  • ระยะทางรวมประมาณ 337 กิโลเมตร
  • แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด 21 อำเภอ ได้แก่
    • จังหวัดมหาสารคาม 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกุตรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม
    • จังหวัดร้อยเอ็ด 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอสมเด็จ อำเภอ
      ธวัชบุรี อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก
    • จังหวัดยโสธร 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเลิงนกทา
    • จังหวัดมุกดาหาร 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอว่านใหญ่
    • จังหวัดนครพนม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทน

การศึกษาแนวเส้นทางของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสาย MR4 ตาก-นครพนม ช่วงขอนแก่น-นครพนม แสดงได้ดังรูปที่ 7-5 และมีรายละเอียดของแนวทาง ดังนี้

แนวเส้นทางจะเริ่มที่จุดตัดแนวเส้นทางหลวงพิเศษนครราชสีมา-หนองคาย (MR2) บริเวณตำบล ดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยแนวเส้นทางนั้นขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ (บ้านไผ่-นครพนม) ซึ่งแนวเส้นทางได้ตัดถนนทางหลวงหมายเลข 2300 หลักกิโลเมตร 16+590 บริเวณตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นแนวเส้นทางได้ตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 23 หลักกิโลเมตร 57+440 บริเวณตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และตัดผ่านถนนหมายเลข 2040 หลักกิโลเมตร 3+000 บริเวณตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกและตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 23 หลักกิโลเมตร 89+870 บริเวณตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกและตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 23 หลักกิโลเมตร 89+870 บริเวณตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 214 บริเวณหลักกิโลเมตร 41+700 ตำบลหนองแวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 2116 บริเวณหลักกิโลเมตร64+400 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด มุ่งหน้าต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 2418 บริเวณหลักกิโลเมตร 35+700 ตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จากนั้นมุ่งหน้าต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และตัดกับถนนหมายเลข 2116 บริเวณหลักกิโลเมตร119+900 ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร มุ่งหน้าต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 12 บริเวณหลักกิโลเมตร789+600 ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มุ่งหน้าต่อไปทางทิศเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 212 บริเวณหลักกิโลเมตร 371+800 ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จากนั้นมุ่งหน้าต่อไปทางทิศเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 2033 บริเวณหลักกิโลเมตร44+100 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม มุ่งหน้าต่อไปทางทิศเหนือและตัดกับถนนหมายเลข 22 บริเวณหลักกิโลเมตร234+050 ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จากนั้นมุ่งหน้าต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและสิ้นสุดที่อำเภอท่าอุเทน

ตลอดแนวเส้นทางโครงการ มีที่พักริมทาง (Rest Area) ทั้งหมด 12 แห่ง ได้แก่

  • ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 3 แห่ง :
    • จังหวัดมหาสารคาม 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอโกสุมพิสัย
    • จังหวัดร้อยเอ็ด 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอโพนทอง
    • จังหวัดมุกดาหาร 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอเมืองมุกดาหาร
  • สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 3 แห่ง :
    • จังหวัดมหาสารคาม 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอเมือง มหาสารคาม
    • จังหวัดร้อยเอ็ด 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอหนองพอก
    • จังหวัดนครพนม 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอธาตุพนม
  • จุดพักรถ (Rest Stop) 6 แห่ง :
    • จังหวัดมหาสารคาม 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอบรบือ
    • จังหวัดร้อยเอ็ด 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอจังหาร และ อำเภอหนองพอก
    • จังหวัดยโสธร 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอเลิงนกทา
    • จังหวัดร้อยเอ็ด 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอจังหาร
    • จังหวัดมุกดาหาร 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอว่านใหญ่
    • จังหวัดนครพนม 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอเมืองนครพนม

ผลการตรวจสอบและการรวบรวมพื้นที่อ่อนไหว รวมทั้งข้อจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อมของทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ช่วงขอนแก่น-นครพนม พบว่า ลักษณะพื้นที่ที่ตัดผ่านมีความลาดเอียงน้อยถึงความลาดชันค่อนข้างสูง โดยผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 เป็นระยะทาง 0.82 กิโลเมตร โดยตัดผ่านป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ป่ากุดรัง, ป่าดงบังอี่ แปลงที่ 1, ป่าดงปอและดงบังอี่, ป่าดงมะอี่ ป่าดงหมู และป่าดินแดงและป่าวังกุง เป็นระยะทางประมาณ 47.75 กิโลเมตร ไม่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติ

สำหรับพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะ 500 เมตรจากสองฝั่งแนวเส้นทาง ช่วงขอนแก่น-นครพนม ประกอบด้วย สถานศึกษา 15 แห่ง ศาสนสถาน 44 แห่ง สถานพยาบาล 7 แห่ง และชุมชน73 ชุมชน สำหรับโบราณสถาน ในระยะ 1 กิโลเมตรจากสองฝั่งแนวเส้นทางพบจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ กู่บ้านเขวา, บ้านมันปลา, แหล่งโบราณคดีบ้านนากอก, แหล่งโบราณคดีสำนักสงฆ์ดง และบ้านทู้

ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ที่แนวเส้นทางตัดผ่าน ประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรม  17,887.48 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 1,548.06 ไร่ พื้นที่ไม่ใช้ประโยชน์ 947.17 ไร่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 404.09 ไร่ และพื้นที่แหล่งน้ำ 282.64 ไร่ โดยมีจุดตัดถนนสายหลัก 3 จุด ถนนชุมชน 106 จุด นอกจากนี้ ยังตัดผ่านแหล่งน้ำประเภทแม่น้ำลำคลอง 164 จุด

โดยสรุปแนวเส้นทางของช่วงขอนแก่น-นครพนม พบว่า แนวเส้นทางตัดผ่านพื้นที่อนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมหลายแห่ง ทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 และป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ตัดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ที่ตัดผ่านบางส่วนมีความลาดชันค่อนข้างสูง และพบพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งสถานศึกษา ศาสนสถาน และชุมชน รวมถึงมีแหล่งโบราณสถานอยู่ใกล้เคียงแนวเส้นทาง จึงต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดังกล่าว รวมถึงกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม

รูป MR4 ช่วงที่ 5 ขอนแก่น-นครพนม

Powered by WordPress Inspiro WordPress Theme by WPZOOM
waktogel togelup aye4d
bocoran rtp slot gacor maxwin sbobet togel kamboja