อัพเดตวันที่ 29/10/2565

MR8 ชุมพร-ระนอง

ระยะทางประมาณ 89 กิโลเมตร

เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ 2 แห่ง ที่มีแผนจะพัฒนาขึ้นตามนโยบายการพัฒนา Land Bridge ชุมพร-ระนอง อันประกอบด้วย ท่าเรือทางฝั่งอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร และท่าเรือทางฝั่งอันดามันบริเวณจังหวัดระนอง

ความสำคัญของเส้นทาง
เชื่อมโยงเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ได้แก่ ชุมพร และ ระนอง

    • แนวเส้นทางรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย และ Land Bridge ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาให้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าใหม่ (New Trade Lane) เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าจากเดิมที่ต้องขนส่งผ่านทางช่องแคบมะละกา รวมทั้ง กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ SEC และ พื้นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับรายได้ของประเทศจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ระดับสูง
    • รองรับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดระนองและภาคใต้ฝั่งอันดามันตอนล่าง ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางและขนส่ง แบ่งเบาการจราจรจากทางหลวงหมายเลข 4

แนวเส้นทางวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยตัดกับแนวเส้นทาง MR1 (เชียงราย-นราธิวาส) ซึ่งเป็นเส้นทางแกนกระดูกในภาคใต้บริเวณอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองตามแนวเส้นทาง MR8 คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เส้นทางชุมพร-ระนอง (M83) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน  2 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง

ระยะทางประมาณ  89 กิโลเมตร

รูปแบบการพัฒนา 
พัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยบูรณาการการใช้เขตทางร่วมกับทางรถไฟสายใหม่ 2 ระบบ คือ ทางรถไฟ Land Bridge ที่เชื่อมโยงระหว่าง 2 ท่าเรือ และ ทางรถไฟในโครงข่ายของการรถไฟแห่งประเทศไทย แนวเส้นทางจะเริ่มที่บริเวณแหลมริ่ว อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร และสิ้นสุดที่อ่าวอ่าง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง โดยมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับเส้นทางนครปฐม-นราธิวาส (M8) บริเวณอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

แนวเส้นทางชุมพร-ระนอง MR8

Powered by WordPress Inspiro WordPress Theme by WPZOOM
waktogel togelup aye4d
bocoran rtp slot gacor maxwin sbobet togel kamboja