slot pulsa dewaasia link server sensasional bandarjudiindo MR9 ช่วงที่ 1 สุราษฎร์ธานี-พังงา – MR-MAP

อัพเดตวันที่ 29/10/2565

MR9 สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต

ช่วงที่ 1 สุราษฎร์ธานี-พังงา (ระยะทางประมาณ 175 กิโลเมตร)

การศึกษาแนวเส้นทางเลือกของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เส้นทาง MR9 สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ช่วงสุราษฎร์ธานี-พังงา ได้พิจารณาแนวทางเลือกทั้งหมด 3 เส้นทาง 

ความสำคัญของแนวเส้นทาง
เชื่อมโยงจากท่าเรือดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปยังจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เป็นทางเลือกในการเดินทางและขนส่งเพิ่มเติมจากทางหลวงหมายเลข 44 แนวเส้นทางมีจุดเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กับเส้นทาง M8 (นครปฐม-นราธิวาส) บริเวณอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน 
จุดเริ่มต้นแนวเส้นทาง : อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จุดสิ้นสุดแนวเส้นทาง : อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
ผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 11 อำเภอ ได้แก่

    • จังหวัดสุราษฎร์ธานี 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดอนสัก อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอพุนพิน อำเภอเคียนซา และ อำเภอพระแสง
    • จังหวัดกระบี่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปลายพระยา และ อำเภออ่าวลึก
    • จังหวัดพังงา 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอทับปุด และ อำเภอเมืองพังงา

ระยะทางรวมโดยประมาณ 175 กิโลเมตร

รูปแบบและรายละเอียดแนวเส้นทาง 
มีจุดเริ่มต้นบริเวณ ทล.4142 อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับรถไฟสายใหม่ไปจนถึง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี หลังจากนั้นมอเตอร์เวย์แยกออกจากทางรถไฟสายใหม่ จนถึง บริเวณ อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา และกลับมาพัฒนาเป็นมอเตอร์เวย์ร่วมกับรถไฟสายใหม่อีกครั้ง จนไปสิ้นสุดแนวเส้นทางที่ ทล.4311 บริเวณ อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา

การกำหนดแนวเส้นทาง
แนวเส้นทางเลือกที่ 1 มีจุดเริ่มต้นอยู่ในพื้นที่ของ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณจุดตัดถนนทางหลวงหมายเลข 4142 (ดอนสัก-ขนอม) จากนั้นแนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4142 (ดอนสัก-ขนอม) อีกครั้ง ซึ่งแนวเส้นทางได้ผ่านพื้นที่ลำน้ำทั้งหมด 4 แห่งโดยแนวเส้นทางยังคงมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่พื้นที่ของ อำเภอกาญจนดิษฐ์ และตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4117 (กาญจนดิษฐ์-ดอนสัก) ถนนทางหลวงหมายเลข 401 (สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช) และถนนทางหลวงหมายเลข 4010 (ถนนชลคราม-สุราษฎร์ธานี) และมีแนวเส้นทางต่อเนื่องไปตามแนวถนนทางหลวงหมายเลข 44 (กระบี่-สุราษฎร์ธานี) เข้าสู่พื้นที่ของ อำเภอเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งแนวเส้นทางตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4009 (สุราษฎร์ธานี-เวียงสระ) เข้าสู่ อำเภอบ้านนาเดิม แนวเส้นทางตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 41 (สุราษฎร์ธานี-พัทลุง) และผ่านพื้นที่ส่วนหนึ่งของ อำเภอพุนพิน และมุ่งหน้าต่อเนื่องเข้าสู่ อำเภอเคียนซา ซึ่งแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง และมีแนวเส้นทางตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4212 (ทล.41-เคียนซา) รวมทั้งตัดผ่าน เส้นทาง MR1 โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายเชียงราย-นราธิวาส ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานีและช่วงสุราษฎร์ธานี-สงขลา และถนนทางหลวงหมายเลข 4133 (พุนพิน-พระแสง) จากนั้นแนวเส้นทางยังคงมีแนวเส้นทางควบคู่ไปกับแนวเส้นทางของทางหลวงหมายเลข 44 (กระบี่-สุราษฎร์ธานี) ผ่าน อำเภอพระแสง และตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4009 (อ่าวลึก-พระแสง) เข้าสู่ จังหวัดกระบี่ บริเวณพื้นที่ของ อำเภอปลายพระยา ทางด้านตอนเหนือของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา จากนั้นแนวเส้นทางเบี่ยงออกจากถนนทางหลวงหมายเลข 44 (กระบี่-สุราษฎร์ธานี) ไปทางทิศตะวันตก ตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4009 (อ่าวลึก-พระแสง) อีกครั้ง รวมทั้งตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4197 (ปลายพระยา-เขาต่อ) และถนนทางหลวงหมายลข 415 (อ่าวลึก-บ้านปากน้ำ) ก่อนที่จะเข้าสู่ จังหวัดพังงา บริเวณพื้นที่ของ อำเภอทับปุด ซึ่งแนวเส้นทางคงมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) และถนนทางหลวงหมายเลข 4311 (พังงา-ทับปุด) จากนั้นแนวเส้นทางเบี่ยงไปทางทิศเหนือของถนนทางหลวงหมายเลข 4311 (พังงา-ทับปุด) เข้าสู่ อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ก่อนที่จะตัดกับถนนทางหลวงหมายเลข 4311 (พังงา-ทับปุด) อีกครั้ง บริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของตัวเมืองพังงา ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของแนวเส้นทางเลือกนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม

    • แนวเส้นทางเลือกที่ 1 มีลักษณะพื้นที่ที่ตัดผ่านมีความลาดชันสูงเป็นป่าสมบูรณ์ก่อนปี 2525 พื้นที่ความลาดชันสูงเป็นป่าสมบูรณ์ แต่มีการบุกรุกก่อนปี 2525 และพื้นที่ความลาดชันค่อนข้างสูง ถึงความลาดชันต่ำที่เป็นป่าถูกบุกรุก โดยผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A เป็นระยะทาง 2.01 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1B เป็นระยะทาง 2.62 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 เป็นระยะทาง 3.81 กิโลเมตร ตัดผ่านป่าสงวนแห่งชาติ 8 แห่ง ได้แก่ ป่าเขาแก้วและควนยิงวัว, ป่าเขาต่อ, ป่าเขาทอยและป่านางหงษ์,ป่าเขาพลู, ป่าเลยดอนสัก, ป่าควนมะรุ่ย, ป่าบ้านนา ป่าท่าเรือ และป่าเคียนซา และ ป่าย่านยาว
      ป่าเขาวง และป่ากระซุม รวมระยะทาง 76.90 กิโลเมตร และตัดผ่านเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง คือ หนองทุ่งทอง เป็นระยะทางประมาณ 0.93 กิโลเมตร
    • สำหรับพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะ 500 เมตรจากสองฟากแนวเส้นทาง ประกอบด้วย สถานศึกษา 13 แห่ง ศาสนสถาน 6 แห่ง สถานพยาบาล 2 แห่ง และสถานที่ราชการ 1 แห่ง พบชุมชนในระยะ 500 เมตรจากสองฟากแนวเส้นทาง 30 ชุมชน พบโบราณสถาน ในระยะ
      1 กิโลเมตรจากสองฟากแนวเส้นทางรวม 8 แห่ง คือ เขาพังงา 2, เขาพังงา 2, เขาเฒ่า 7, ถ้ำกลาง (ศูนย์วิโมกข์ธรรม, ถ้ำแสงธรรมนิมิตร), ถ้ำผึ่ง 1, ถ้ำผึ่ง 2, ถ้ำผึ่ง 3 และถ้ำพระ
    • ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ที่แนวเส้นทางตัดผ่าน ประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรม 7,69 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 485.32 ไร่ พื้นที่ไม่ใช้ประโยชน์ 1,833.10 ไร่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 322.68 ไร่ และพื้นที่แหล่งน้ำ 41.12 ไร่ โดยแนวเส้นทางเลือกที่ 1 มีจุดตัดถนนสายหลัก 14 จุด ถนนชุมชน 89 จุด นอกจากนี้ ยังตัดผ่านแหล่งน้ำประเภทแม่น้ำลำคลอง 129 จุด

แนวเส้นทาง MR9 ช่วงสุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต

Powered by WordPress Inspiro WordPress Theme by WPZOOM
waktogel togelup aye4d
bocoran rtp slot gacor maxwin sbobet togel kamboja