อัพเดตวันที่  21/07/2566

MR 1 เชียงราย-นราธิวาส

ช่วงที่ 5 ลำปาง-พะเยา (ระยะทาง 100 กม.)

ความสำคัญของเส้นทาง
แนวเส้นทางแยกออกมาจากเส้น MR1-4 พิษณุโลก-เชียงใหม่ แนวเส้นทางจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทาง และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางและขนส่งจากศูนย์กลางกรุงเทพมหานครมายังภาคเหนือ

รูปแบบการพัฒนา
ช่วง MR1-5 จะมุ่งขึ้นเหนือ เพื่อไปเชื่อมต่อกับแนวเส้นทาง MR1 เชียงราย-นราธิวาส ช่วงเชียงใหม่-เชียงราย บริเวณ อ.งาว จ.ลำปาง และเชื่อมต่อไปยัง อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ต่อไป

รายละเอียดแนวเส้นทาง 
จุดเริ่มต้นโครงการ : อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก
จุดสิ้นสุดโครงการ : อ.งาว จ.ลำปาง
ระยะทางรวมประมาณ 100 กิโลเมตร
แนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 1 จังหวัด 3 อำเภอ ได้แก่
   –  จ.ลำปาง 4 อำเภอ : อ.แม่ทะ  อ.แม่เมาะ และ อ.งาว

แนวเส้นทางโครงการ
แนวเส้นทาง MR1-5 ช่วงอำเภอแม่ทะ-อำเภองาว จังหวัดลำปาง สามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดเชียงรายได้ โดยแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง บนแนวเส้นทางช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ แนวเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและได้ตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 11 (เชียงใหม่-ลำปาง) ได้เข้าสู่อำเภอแม่เมาะ จากนั้นแนวเส้นทางได้ตัดผ่านทางรถไฟสายปัจจุบันใกล้บริเวณสถานีรถไฟแม่จาง และได้ผ่านพื้นที่เขาสูงระหว่างโรงไฟฟ้าแม่เมาะและเขื่อนแม่จาง ยังคงมุ่งไปทิศตะะวันออกเฉียงเหนือและได้เข้าสู่พื้นที่อำเภองาว และตัดผ่านถนนทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) แนวเส้นทางวิ่งขนานฝั่งด้านตะวันตกของถนนทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านพื้นที่ราบสลับเขา จนไปบรรจบกับแนวเส้นทางช่วงเชียงใหม่-เชียงราย บริเวณพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีระยะทางทั้งสิ้น 99 กิโลเมตร

ที่พักริมทาง (Rest Area)
ตลอดแนวเส้นทางโครงการ มีที่พักริมทาง (Rest Area) ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่

    • ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 1 แห่ง :
      – จ.ลำปาง 1 แห่ง : ตั้งอยู่บริเวณ อ.แม่เมาะ
    • สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) 1 แห่ง :
      – จ.ลำปาง 1 แห่ง : ตั้งอยู่บริเวณ อ.งาว
    • จุดพักรถ (Rest Stop) 1 แห่ง :
      – จ.ลำปาง 1 แห่ง : ตั้งอยู่บริเวณ อ.แม่ทะ

การวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม
แนวเส้นทางมีลักษณะพื้นที่ที่ตัดผ่านมีความลาดชันสูงจนถึงความลาดเอียงน้อย โดยผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A เป็นระยะทาง 6.92 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 เป็นระยะทาง 7.51 กิโลเมตร แนวเส้นทางไม่ตัดผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สำหรับพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะ 500 เมตรจากสองฟากแนวเส้นทาง ประกอบด้วย สถานศึกษา 2 แห่ง ศาสนสถาน 4 แห่ง สถานพยาบาล 1 แห่ง และชุมชน 1 ชุมชน โดยไม่พบโบราณสถานในระยะ 1 กิโลเมตรจากสองฟากแนวเส้นทาง ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่ที่แนวเส้นทางตัดผ่าน ประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรม 886.38 ไร่ พื้นที่ป่าไม้ 5,206.56 ไร่ พื้นที่ไม่ใช้ประโยชน์ 88.58 ไร่ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 24.57 ไร่ และพื้นที่แหล่งน้ำ 5.53 ไร่ โดยแนวเส้นทางมีจุดตัดถนนสายหลัก 3 จุด และถนนชุมชน 7 จุด นอกจากนี้ ยังตัดผ่านแหล่งน้ำประเภทแม่น้ำลำคลอง 98 จุด

โดยสรุปแนวเส้น พบว่า แนวเส้นทางตัดผ่านพื้นที่อนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมหลายแห่ง ทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A พื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 ไม่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พื้นที่ที่ตัดผ่านบางส่วนมีความลาดชันสูง และพบพื้นที่อ่อนไหวต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งสถานศึกษา ศาสนสถาน และชุมชน จึงต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดังกล่าว รวมถึงกำหนดมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม

รูปแนวเส้นทาง MR1 เชียงราย-นคราธิวาส ช่วงลำปาง-พะเยา

Powered by WordPress Inspiro WordPress Theme by WPZOOM
waktogel togelup aye4d
bocoran rtp slot gacor maxwin sbobet togel kamboja