บรรยากาศการประชุมสรุป(ร่าง)แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

บรรยากาศการประชุมสรุป(ร่าง)แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม 2566

MR1

– MR1 – เชียงราย-นราธิวาส (ระยะทาง 2,164 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุดของแนวเส้นทางตามนโยบายการบูรณาการโครงข่ายฯ MR-MAP โดยแนวเส้นทางวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เริ่มต้นในจังหวัดเชียงราย จากด่านเชียงของ ชายแดนไทย-ลาว และ ด่านแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ไปสิ้นสุดที่ด่านสะเดา/ปาดังเบซาร์ ชายแดนไทย-มาเลเซียในจังหวัดสงขลา และด่านสุไหงโก-ลก ชายแดนไทยมาเลเซียในจังหวัดนราธิวาส ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ (อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชื่อมโยงประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านเหนือ ได้แก่ ด่านแม่สาย (ไทย-เมียนมา) ด่านเชียงของ (ไทย-ลาว) และประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านใต้ ได้แก่ ด่านสะเดา/ปาดังเบซาร์ และด่านสุไหงโก-ลก (ไทย-มาเลเซีย) สอดคล้องกับแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : …

MR10

– MR10 – เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ระยะทาง 588 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) MR10 เป็นเส้นทางในระบบรัศมีและวงแหวนรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย(1)   เส้นทางที่เปิดใช้งานแล้วในปัจจุบัน ได้แก่ ถนนกาญจนาภิเษก หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (M9) และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)(2)   เส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางขุนเทียน-ปากท่อ (M82) ช่วงบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว(3)   เส้นทางที่อยู่ในแผนการพัฒนา ได้แก่   –   เส้นทางวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (M91)   –   เส้นทางรังสิต-หนองคาย (M6) ช่วงทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน   –   เส้นทางบางขุนเทียน-ปากท่อ (M82) ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ   –   เส้นทางบางปะอิน-สุพรรณบุรี (M53) ความสำคัญของแนวเส้นทาง : รองรับการเดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นนอกและชั้นในของกรุงเทพมหานคร แบ่งแยกและกระจายการจราจรที่ต้องการเดินทางผ่านพื้นที่ และการเดินทางระยะสั้นในพื้นที่ ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชื่อมโยงการจราจรเข้า-ออก กรุงเทพมหานคร …

MR9

– MR9 – สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต (ระยะทาง 236 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันกับพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณตอนกลางของภาคใต้ โดยแยกออกจากแนวแกนหลักของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในภาคใต้ (เส้นทาง นครปฐม-นราธิวาส หรือ M8) บริเวณอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงการท่องเที่ยวจากโครงข่ายหลักไปยังอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางสำหรับการท่องเที่ยวทางทะเลทางฝั่งอ่าวไทย และไปยังกลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวอันดามัน ได้แก่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก เชื่อมโยง 2 เมืองหลักภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต เชื่อมโยงพื้นที่ท่องเที่ยวระดับโลก กับ พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ภาพรวมแนวเส้นทาง : แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ : 4 จังหวัดได้แก่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต ระยะทางรวม : ประมาณ 236 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางเสนอให้พัฒนาโดยใช้เขตทางร่วมกับระบบรางตามแนวนโยบายบูรณาการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง …

MR8

– MR8 – กาญจนบุรี-สระแก้ว (ระยะทาง 94 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ 2 แห่ง ที่มีแผนจะพัฒนาขึ้นตามนโยบาย การพัฒนา Land Bridge ชุมพร-ระนอง ประกอบด้วย ท่าเรือทางฝั่งอาวไทย บริเวณจังหวัดชุมพร และท่าเรือทางฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัดระนอง ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ได้แก่ ชุมพร และระนอง แนวเส้นทางรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย และ Land Bridge ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาให้เป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าใหม่ (New Trade Lane) เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าจากเดิมที่ต้องขนส่งผ่านทางช่องแคบมะละกา รวมทั้ง กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ SEC และ พื้นที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับรายได้ของประเทศจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ระดับสูง รองรับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว ในการเชื่อมโยงไปสู่จังหวัดระนองและภาคใต้ฝั่งอันดามันตอนล่าง ช่วยเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางและขนส่ง แบ่งเบาการจราจรจากทางหลวงหมายเลข 4 ที่พักริมทาง (Rest Area) …

MR7

– MR7 – กาญจนบุรี-สระแก้ว (ระยะทาง 390 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ด่านคลองใหญ่ จังหวัดตราด เส้นทางเริ่มจากกรุงเทพมหานครที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ส่วน D และถนนพระราม 9 บริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยที่จังหวัดชลบุรีแนวเส้นจะแยกเป็น 2 เส้นทาง โดยมีจุดปลายทางหนึ่งที่อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และอีกจุดปลายทางหนึ่งที่ด่านคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และเป็นที่ตั้งของฐานการผลิตอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ท่าเรือน้ำลึกที่เป็นประตูการค้าทางทะเลหลักของประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติ และเมืองการบินภาคตะวันออก ฯลฯ รองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ เชื่อมโยงชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ด่านคลองใหญ่ จังหวัดตราด และเขตเศรษฐกิจพิเศษตราด สอดคล้องกับแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) แนวระเบียงย่อยเลียบชายฝั่งด้านใต้ …

MR6

– MR6 – กาญจนบุรี-สระแก้ว (ระยะทาง 390 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก เชื่อมโยงชายแดนไทย-เมียนมา ที่ด่านพุน้ำร้อน อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทางด้านตะวันตก กับ ชายแดนไทย-กัมพูชาที่ด่านอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ทางด้านตะวันออกของประเทศ ผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เส้นทางทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร : เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 ด้านตะวันตก) ไปยังด่านพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี เส้นทางทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร : เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 2 ด้านตะวันออก) ไปยังด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว การเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางระหว่างสองฝั่งเพื่อผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้โครงข่ายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับ ประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านตะวันออก ที่ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมโยงการค้าการคมนาคมขนส่งระหว่างไทยกับกัมพูชา เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กับ …

MR5

– MR5 – นครสวรรค์-อุบลราชธานี (ระยะทาง 703 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์ทางด้านตะวันตก และ ด่านชายแดนไทย-ลาว ในจังหวัดอุบลราชธานี ทางด้านตะวันออก โดยแนวเส้นทางเชื่อมโยงทั้งที่ด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในปัจจุบันที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของไทยกับลาวตอนใต้ และที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 นาตาล-สาละวัน ที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต ทั้งนี้ การกำหนดแนวเส้นทางได้ปรับเปลี่ยนจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางตามนโยบายการบูรณาการการพัฒนาทางโครงข่ายหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) ที่กำหนดไว้ที่ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี มาเป็นที่จังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากเหตุผลด้านข้อจำกัดของพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นมรดกโลก และความต้องการในการเดินทางและขนส่งและโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ นอกจากนี้ในการเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งไปยังด่านชายแดนไทย-เมียนมา สามารถใช้โครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเพื่อไปยังด่านแม่สอดและด่านพุน้ำร้อนได้ ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองขนาดกลางในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ นครสวรรค์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ อุบลราชธานี เชื่อมโยงประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด่านพรมแดนไทย-ลาว ที่ด่านช่องเม็ก ซึ่งเชื่อมไปยังเมืองปากเซ เมืองหลักของลาวตอนใต้ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 6 นาตาล-สาละวัน (ในอนาคต) …

MR4

– MR4 – ตาก-นครพนม (ระยะทาง 872 กม.) (อัพเดตวันที่ 21/07/66) เป็นเส้นทางที่วางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทางฝั่งตะวันตกเชื่อมโยงด่านชายแดนไทย-เมียนมา บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-พม่า ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ส่วนทางฝั่งตะวันออกเชื่อมโยงด่านชายแดนไทย-ลาว ที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และที่บริเวณสะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม–คำม่วน) อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เส้นทางผ่านพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความสำคัญของแนวเส้นทาง : เชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อาทิ พิษณุโลก และขอนแก่น) เชื่อมโยงประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านตะวันตก ได้แก่ ด่านแม่สอด (ไทย-เมียนมา) และประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านตะวันออก ได้แก่ ด่านมุกดาหาร และด่านนครพนม (ไทย-ลาว) ซึ่งทั้ง 3 แห่ง เป็นด่านการค้าระหว่างประเทศทางบกที่มีปริมาณและมูลค่าการขนส่งสินค้าสูง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic …