MR10 ช่วงที่ 5 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก

อัพเดตวันที่ 29/04/2565 MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงที่ 5 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก ช่วง มล.35-นครปฐม (ระยะทางประมาณ 23 กม.) ความสำคัญของแนวเส้นทาง เป็นเส้นทางเชื่อมต่อการเดินทางบริเวณวงแหวนด้านใต้และการเดินทางจากภาคใต้ไปยังภาคเหนืออย่างไร้รอยต่อ จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน ได้แก่ สมุทรสาคร และ นครปฐม รูปแบบและรายละเอียดแนวเส้นทาง พัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับรถไฟสายใหม่ เป็นแนวใหม่ทั้งคู่ จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางอยู่บริเวณทางหลวงหมายเลข 35 ไปสิ้นสุดโครงการบริเวณตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม แนวเส้นทาง MR10: วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 

MR10 ช่วงที่ 4 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านใต้

อัพเดตวันที่ 29/04/2565 MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงที่ 4 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านใต้ ช่วง ทล.34-ทล.35 (ระยะทางประมาณ 79 กม.) ความสำคัญของแนวเส้นทางรองรับการเดินทางระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่จะส่งเสริมการเดินทางและการขนส่งสินค้าจากพื้นที่ EEC สู่พื้นที่ SEC ด้วยโครงข่ายทางถนนและระบบราง ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการค้าการลงทุนของประเทศไทยทั้งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้มากขึ้น จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน  ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร รูปแบบและรายละเอียดแนวเส้นทาง ช่วงเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณทางหลวงหมายเลข 34 จนถึงทางหลวงหมายเลข 3 หรือ ถนนสุขุมวิท จะพัฒนาเป็นแนวเส้นทางใหม่โดยปรับแนวเส้นทางของทางหลวงพิเศษระหวางเมืองและระบบรางเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบของพื้นที่ชุมชนข้างเคียง หลังจากนั้น แนวเส้นทางจะใช้แนวตามการศึกษาของโครงการก่อสร้างโครงข่ายทางสนับสนุนการเชื่อมต่อระบบขนส่งหลักของประเทศ ช่วง จ.สมุทรสาคร-จ.สมุทรปราการ โดยพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและรถไฟสายใหม่ตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งจะมีการปรับแนวเส้นทางบางช่วงเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน รวมทั้งพิจารณาการออกแบบแนวเส้นทางเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน แนวเส้นทาง MR10: วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 

MR10 ช่วงที่ 3 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก

อัพเดตวันที่ 29/04/2565 MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงที่ 3 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.305-ทล.34 (ระยะทางประมาณ 52 กม.) ความสำคัญของแนวเส้นทาง  รองรับการเดินทางที่ต้องการเดินทางระหว่างภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นหลัก เพื่อช่วยบรรเทาปริมาณจราจรที่ต้องการเดินทางระหว่างพื้นที่ ไม่ต้องผ่านเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน ได้แก่ ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ รูปแบบและรายละเอียดแนวเส้นทาง ช่วงทางหลวงหมายเลข 305-ทางรถไฟสายตะวันออก จะพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองตามการออกแบบของโครงการวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ซึ่งกรมทางหลวงออกแบบรายละเอียดไว้แล้ว หลังจากนั้น แนวเส้นทางจะพิจารณาปรับแนวทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่เคยออกแบบไว้ของกรมทางหลวง เพื่อขยายเขตทางให้สามารถพัฒนาร่วมกับรถไฟสายใหม่จนไปสิ้นสุดโครงการบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 34 หรือถนนบางนา-ตราด แนวเส้นทาง MR10: วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 

MR10 ช่วงที่ 2 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก

อัพเดตวันที่ 29/04/2565 MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงที่ 2 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.32-ทล.305 (ระยะทางประมาณ 69 กม.) ความสำคัญของแนวเส้นทาง แนวเส้นทางรองรับการเดินทางที่ต้องการเดินทางระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นหลัก โดยมีจุดตัดกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา ซึ่งสามารถเชื่อมการเดินทางไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน  ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และปทุมธานี รูปแบบและรายละเอียดแนวเส้นทาง ช่วงทล.32-ทางรถไฟบ้านภาชี จะพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับรถไฟสายใหม่ โดยเป็นแนวใหม่ทั้งคู่ หลังจากนั้น แนวเส้นทางจะพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองผ่านจุดตัดกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา และมุ่งลงทางทิศใต้ไปสิ้นสุดแนวเส้นทางบริเวณทางหลวงหมายเลข 305 ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แนวเส้นทาง MR10: วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 

MR10 ช่วงที่ 1 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านเหนือ

อัพเดตวันที่ 29/04/2565 MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงที่ 1 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านเหนือ ช่วงสุพรรณบุรี-ทล.32 (ระยะทางประมาณ 33 กม.) ความสำคัญของแนวเส้นทาง แนวเส้นทางรองรับการเดินทางที่ต้องการเดินทางระหว่างภาคกลางและภาคเหนือเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัดภายในกรุงเทพมหานคร จังหวัดที่แนวเส้นทางพาดผ่าน ได้แก่ สุพรรณบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา รูปแบบและรายละเอียดแนวเส้นทาง พัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับรถไฟสายใหม่ เป็นแนวใหม่ทั้งคู่ จุดเริ่มต้นแนวเส้นทางอยู่บริเวณอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และสิ้นสุดโครงการบริเวณทางหลวงหมายเลข 32 อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แนวเส้นทาง MR10: วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 

MR10 ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ

เส้นทางเชื่อมกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล ช่วงบ้านแพ้ว-ปากท่อ จุดเริ่มต้นโครงการ :  ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครจุดสิ้นสุดโครงการ :  ตำวังมะนาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีระยะทางรวม :        54 กิโลเมตรโดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด 59 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร ประกอบด้วย 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกขาม ตำบลกาหลง ตำบลชัยมงคล ตำบลท่าจีน ตำบลนาโคก ตำบลบางโทรัด ตำบลบางกระเจ้า ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบ้านเกาะ ตำบลบ้านบ่อ ตำบลพันท้ายนรสิงห์  อำเภอบ้านแพ้ว ประกอบด้วย 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลเกษตรพัฒนา ตำบลเจ็ดริ้ว ตำบลชัคลองตัน ตำบลสวนส้ม ตำบลหลักสอง ตำบลหลักสาม ตำบลอำแพง จังหวัดสมุทรสงคราม    อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ประกอบด้วย …

MR10 ช่วงส่วนต่อขยายอุดรรัถยา บางปะอิน-สุพรรณบุรี

เส้นทางเชื่อมกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล ช่วงส่วนต่อขยายอุดรรัถยา บางปะอิน-สุพรรณบุรี จุดเริ่มต้นโครงการ :   จุดตัดทางหลวงหมายเลข 9  (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยาจุดสิ้นสุดโครงการ :   จุดเชื่อมต่อ MR1 (เชียงราย-นราธิวาส) ที่ ต.ดอนตาล อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรีระยะทางรวม :          55 กิโลเมตรโดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 65 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอเสนา ประกอบด้วย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแพน ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง  อำเภอนครหลวง ประกอบด้วย 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลนครหลวง ตำบลบางพระครู ตำบลบางระกำ ตำบลบ้านชุ้ง ตำบลพระนอน ตำบลสามไถ อำเภอบางไทร ประกอบด้วย 12 ตำบล ได้แก่ …

MR10 ด้านตะวันตก ช่วงทล.35-นครปฐม

เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก ช่วงทล.35-นครปฐม จุดเริ่มต้นโครงการ : ทางหลวงหมายเลข 35 ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาครจุดสิ้นสุดโครงการ :  ต.โคกพระเจดีย์ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐมระยะทางรวม :        23 กิโลเมตรโดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่จ.สมุทรสาคร :       อ.เมืองสมุทรสาคร และ อ.บ้านแพ้วจ.นครปฐม :          อ.สามพราน และ อ.นครชัยศรี

MR10 ด้านใต้ ช่วงทล.34-ทล.35

เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านใต้ ช่วงทล.34-ทล.35 จุดเริ่มต้นโครงการ : ทางหลวงหมายเลข 34 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการจุดสิ้นสุดโครงการ :  ทางหลวงหมายเลข 35 ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาครระยะทางรวม :        79 กิโลเมตรโดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อำเภอ ได้แก่จ.สมุทรปราการ :     อ.บางเสาธง  อ.บางบ่อ อ.บางพลี อ.เมืองสมุทรปราการ และ อ.พระสมุทร เจดีย์จ.สมุทรสาคร :        อ.เมืองสมุทรสาคร

MR10 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.6-ทล.34

เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.6-ทล.34 จุดเริ่มต้นโครงการ : ทางหลวงหมายเลข  6 ต.โพสามหาว อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยาจุดสิ้นสุดโครงการ :  ทางหลวงหมายเลข 34 ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการระยะทางรวม :        91 กิโลเมตรโดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด 9 อำเภอ/เขต ได้แก่จ.พระนครศรีอยุธยา :  อ.อุทัย และ อ.วังน้อยจ.สระบุรี :               อ.หนองแคจ.ปทุมธานี :             อ.หนองเสือ อ.ธัญบุรี และ อ.ลำลูกกาจ.กรุงเทพมหานคร :  …