- MR1 -

เชียงราย-นราธิวาส (ระยะทาง 2,164 กม.)

(อัพเดตวันที่ 21/07/66)

เป็นเส้นทางที่มีระยะทางยาวที่สุดของแนวเส้นทางตามนโยบายการบูรณาการโครงข่ายฯ MR-MAP โดยแนวเส้นทางวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ เริ่มต้นในจังหวัดเชียงราย จากด่านเชียงของ ชายแดนไทย-ลาว และด่านแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ ไปสิ้นสุดที่ด่านสะเดา/ปาดังเบซาร์ ชายแดนไทย-มาเลเซียในจังหวัดสงขลา และด่านสุไหงโก-ลก ชายแดนไทยมาเลเซียในจังหวัดนราธิวาส

ความสำคัญของแนวเส้นทาง :

    •  เชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ (อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา) เข้าสู่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
    • เชื่อมโยงประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านเหนือ ได้แก่ ด่านแม่สาย (ไทย-เมียนมา) ด่านเชียงของ (ไทย-ลาว) และประตูการค้าและเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศทางด้านใต้ ได้แก่ ด่านสะเดา/ปาดังเบซาร์ และด่านสุไหงโก-ลก (ไทย-มาเลเซีย)
    • สอดคล้องกับแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) ของกรอบความร่วมมืออนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS)
    • เชื่อมโยงและรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ตามยุทธศาสตร์ของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
    • เชื่อมโยงจังหวัดภายในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในภาคเหนือ และเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
    • เชื่อมโยงจังหวัดภายในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในภาคใต้ และเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้กับกรุงเทพมหานครปละปริมณฑลและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ภาพรวมแนวเส้นทาง :

    • แนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ : 26 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา พิษณุโลก สุโขทัย แพร่ ลำพูน พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
    • ระยะทางรวม : ประมาณ 2,164 กิโลเมตร โดยมีช่วงเส้นทางที่มีศักยภาพในการพัฒนาโดยใช้เขตทางร่วมกับระบบรางตามแนวนโยบายบูรณาการการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) มีระยะทางประมาณ 1,204 กิโลเมตร
    • การเชื่อมโยงโครงข่าย : ทางตอนบนของประเทศเส้นทาง MR1 จะมีจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางในแนวตะวันออกและตะวันตก ที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดนครปฐม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเมืองหลักและประตูการค้าระหว่างประเทศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และพื้นที่ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยได้ ส่วนเส้นทางตอนล่างของประเทศที่โครงข่ายมีลักษณะเป็นแกนกระดูก เส้นทาง MR1 จะทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายไปยังฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน บริเวณจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี

ที่พักริมทาง (Rest Area) :

    • ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) จำนวน 21 แห่ง
    • สถานที่บริการทางหลวง (Service Area) จำนวน 25 แห่ง
    • จุดพักรถ (Rest Stop) จำนวน 43 แห่ง
    • ทางเข้าออกจำนวน 86 แห่ง

รายละเอียดของแนวเส้นทางช่วงต่าง ๆ  แบ่งได้เป็น 14 ช่วง ดังนี้

ช่วงที่ 1 เชียงราย-เชียงของ (ระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 2 เชียงราย-ด่านแม่สาย (ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 3 เชียงใหม่-เชียงราย (ระยะทางประมาณ 215 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 4 พิษณุโลก-เชียงใหม่ (ระยะทางประมาณ 235 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 5 ลำปาง-พะเยา (ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 6 นครสวรรค์-พืษณุโลก (ระยะทางประมาณ 144 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 7 สุพรรณบุรี-นครสวรรค์ (ระยะทางประมาณ 129 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 8 นครปฐม-สุพรรณบุรี (ระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 9 นครปฐม-ชะอำ (ระยะทางประมาณ 133 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 10 ชะอำ-ชุมพร (ระยะทางประมาณ 337 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 11 ชุมพร-สุราษฎร์ธานี (ระยะทางประมาณ 131 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 12 สุราษฎร์ธานี-สงขลา (ระยะทางประมาณ 254 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 13 สงขลา-สะเดา (ระยะทางประมาณ 69 กิโลเมตร)
ช่วงที่ 14 สงขลา-นราธิวาส (ระยะทางประมาณ 218 กิโลเมตร)

รูปแนวเส้นทาง MR1 เชียงราย-นราธิวาส

Powered by WordPress Inspiro WordPress Theme by WPZOOM
waktogel togelup aye4d
bocoran rtp slot gacor maxwin sbobet togel kamboja