ภาพการประชุมโครงการนำร่อง พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ครั้งที่ 1 (19 พ.ย. 64)

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง พร้อมศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น : พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 4 ครั้งที่ 1 (19 พฤศจิกายน 2564) ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร, ระยอง, ศรีสะเกษ, สุรินทร์, อุบลราชธานี, บุรีรัมย์ม และนครราชสีมา วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 นายเอกพงศ์ เศรษฐมานพ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุบลราชธานีที่ 1 กล่าวรายงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ครั้งที่ 1) งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง(MR-MAP) พร้อมการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมี นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ซึ่งจัดประชุมตามมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ห้องประชุมทับทิมสยาม 4 โรงแรมสุนีย์แกรนด์โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี ไปยังพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ …

ภาพการประชุมโครงการนำร่อง พื้นที่ภาคใต้ ครั้งที่ 1 (17 พ.ย. 64)

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง พร้อมศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น : พื้นที่ภาคใต้ กลุ่มที่ 3 ครั้งที่ 1 (17 พฤศจิกายน 2564) ประกอบด้วย 2 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร และระนอง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมทางหลวง ร่วมกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 3 งานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง เป็นนการประชุมในรูปแบบทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จากโรงแรงนานาบุรี อ.เมือง  จ.ชุมพร มีผู้ร่วมเข้าประชุมทั้งจังหวัดชุมพรและระนอง สำหรับการพัฒนาโครงข่ายแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง หรือ MR-Map มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เขตทางที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ลดการเวนคืนพื้นที่โดยไม่จำเป็น พัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่ ปรับปรุงการเชื่อมต่อโครงข่าย รวมทั้งเพิ่มความสะดวก คล่องตัว และความปลอดภัย สำหรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า แก้ปัญหาทางรถไฟในเขตเมือง และปรับปรุงการเชื่อมต่อระหว่างประเทศของโครงข่าย สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ คือ ลดการเวนคืนและแบ่งแยกชุมชน เพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างภูมิภาคและการขนส่งระหว่างประเทศ ลดระยะเวลาในการเดินทางและขนส่ง  ลดปัญหาการจราจรติดขัดที่เกิดขึ้นทั้งในเขตเมืองและบริเวณด่านชายแดน  และพัฒนาความเจริญไปสู่พื้นที่ใหม่ โดยใช้การเชื่อมโยงการเดินทางหลากหลายรูปแบบ  นายชุมโชค  นันทวิชิต …

ภาพการประชุมโครงการนำร่อง พื้นที่กทม และปริมณฑล ครั้งที่ 1 (11 พ.ย. 64)

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง พร้อมศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น : พื้นที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มที่ 2 ครั้งที่ 1 (11 พฤศจิกายน 2564) ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ ประทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี   วันนี้ (11 พ.ย.64) เวลา 09.00 น. ที่ ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กลุ่มที่ 1) งานศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) โดยมี นายไพจิตร โพธิ์จันทร์ ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ตามที่ กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง กรมทางหลวง ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาเป็นที่ปรึกษาโครงการงานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง และงานศึกษาปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษโดยใช้เงินทุนค่าธรรมเนียนผ่านทาง พร้อมการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study)  โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอร่างแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) และนำเสนอความก้าวหน้าผลของการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Pre-Feasibility Study) ในเส้นทางตามแผนแม่บทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย1.เส้นทาง MR 10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 และ เส้นทางเชื่อมต่อวงแหวนรอบที่ 2 และ 3 ได้แก่ บ้านแพ้ว-ปากท่อ และ บางปะอิน-สุพรรณบุรี2.เส้นทาง MR 1 เชียงราย-นราธิวาส ช่วงนครสวรรค์-นครปฐม3.เส้นทาง MR 6 กาญจนบุรี (ด่านพุน้ำร้อน)-สระแก้ว (ด่านอรัญประเทศ) ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก)-ปราจีนบุรี กรมทางหลวง  กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้จัดประชุมตามมาตรการป้องกันโรคที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการประชุม เป็นห้องประชุมหลัก ณ ห้องประชุมบัวหลวง ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม โดยได้จัดให้ผู้เข้าร่วมประชุมในพื้นที่ดังกล่าว เข้าร่วมประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Cloud Meetings) ให้ทุกท่านได้รับทราบ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในวันนี้ ดาวน์โหลดรูปภาพและวีดีโอได้ที่ >> ดาวน์โหลด ข้อมูลข่าวและที่มาผู้สื่อข่าว …

ภาพการประชุมโครงการนำร่อง พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและพื้นที่ภาคตะวันออก ครั้งที่ 1 (4 พ.ย. 64)